หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ (หลักสูตร 4 ปี)

Bachelor of Engineering Program in Instrumentation and Automation Engineering (4 years program)
 
รหัสและชื่อหลักสูตร
                ภาษาไทย     : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ
                ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Instrumentation and AutomationEngineering
 
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
                • ชื่อเต็มภาษาไทย       : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ)
                • ชื่อย่อภาษาไทย        : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ)
                • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ   : Bachelor of Engineering (Instrumentation and Automation Engineering)
                • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ    : B.Eng. (Instrumentation and Automation Engineering)
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูต
  1. เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้ ความสามารถ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ มีความพร้อมในการประกอบอาชีพทางวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ มีทักษะทางสังคมและความสามารถในการสื่อสาร
  2. เพื่อผลิตวิศวกรที่สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
  3. เพื่อผลิตวิศวกรที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ เป็นที่พึ่งของสังคม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Student Outcome : SO) ของหลักสูตร
  1. ความสามารถในการระบุปัญหาสร้างความสัมพันธ์และแก้ปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนโดยทำการประยุกต์ใช้หลักการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
     
  2. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ในการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อสร้างคำตอบที่ตรงกับความต้องการโดยพิจารณาองค์ประกอบทางด้าน สาธารณสุขและความปลอดภัย สังคมโลก วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์และองค์ประกอบอื่นตามความเหมาะสมของสาขาวิชา
     
  3. ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับกลุ่มคนที่หลากหลาย
     
  4. ความสามารถในการคำนึงถึงจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในทางวิชาชีพ ในงานด้านวิชาชีพวิศวกรรมและทำการตัดสินใจบนพื้นฐานการคำนึงถึงผลกระทบของผลลัพธ์ทางวิศวกรรมต่อสังคมโลก เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคมศาสตร์
     
  5. ความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในฐานะสมาชิกหรือผู้นำ ในการสร้างเป้าหมาย การวางแผนงาน ทำงานได้ทันตามกำหนดและสามารถสร้างความร่วมมือและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน
     
  6. ความสามารถในการพัฒนาและดำเนินการทดลองที่เหมาะสม วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลและใช้หลักการตัดสินใจทางวิศวกรรมศาสตร์ในการสรุปผล
     
  7. ความสามารถในการคำนึงถึงการหาความรู้ใหม่ หาแนวทางในการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้นั้นได้

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
  1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวัดคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาที่เทียบเท่ากันได้ หรือ
  2. สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเครื่องมือวัด ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาที่เทียบเท่ากันได้ หรือ
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ก. กลุ่มวิชาภาษา
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
ข. กลุ่มวิชาบูรณาการ
ค. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ง. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
จ. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม
กลุ่มวิชาชีพทางวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
กลุ่มวิชาฝึกงาน (S/U)
หมวดวิชาเลือกเสรี
144   หน่วยกิต
30   หน่วยกิต
15   หน่วยกิต
6   หน่วยกิต
9   หน่วยกิต
3   หน่วยกิต
7   หน่วยกิต
3   หน่วยกิต
2   หน่วยกิต
108   หน่วยกิต
30   หน่วยกิต
31   หน่วยกิต
47   หน่วยกิต
26   หน่วยกิต
21   หน่วยกิต
240      ชั่วโมง
6   หน่วยกิต