ภาพบรรยากาศการติดตั้งชุดปฏิบัติการ Manufacturing Execution System (MES) and Enterprise Resource Planning (ERP) ณ MES and ERP Laboratory อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องมือวัดและบริการวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ.ปราจีนบุรี วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565
           ชุดปฏิบัติการนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชา 1) ระบบดำเนินการผลิต และ 2) ระบบโรงงานอัตโนมัติ ในหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอัตโนมัติ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านงานการวัดและอัตโนมัติในสายงาน Factory Automation ให้กับนักศึกษาเพื่อให้เห็นภาพของระบบโรงงานอัตโนมัติสมัยใหม่ (Smart Factory) ที่สอดคล้องกับ Automation Pyramid ตามมาตรฐาน ISA 95 (International Society of Automation) โดยชุดทดลองประกอบด้วย
           1. ขั้นการผลิตในระดับ Shopfloor ที่เชื่อมโยงข้อมูลข้อระหว่าง Sensor, Actuator, and robot ไปสู่ตัวควบคุมประเภท PLC (IQ-R) ผ่านการสื่อสารข้อมูลแบบ Fieldbus (CC-Link)
           2. ขั้นการติดตามข้อมูลการผลิตที่ใช้ระบบ SCADA(Supervisory Control And Data Acquisition) ของ ICONIC MC-Works64 โดยเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดจากขั้น Shopfloor ผ่าน OPC UA
           3. ขั้นระบบดำเนินการผลิตโดยใช้ MES module สำหรับบันทึกสถานะและปะสิทธิภาพรวมการผลิตในระดับ Shop floor เช่นค่า Cycle Time (CT), Task Time (TT), Overall Equipment Effectiveness (OEE) ประกอบไปด้วย Availability (A), Performance (P), Quality(Q) นอกจากนี้ในชุดทดลองดังกล่าวยังมีโปรแกรม CiRA Core เพื่อรองรับการผลิตที่เกี่ยวข้องกับระบบปัญญาประดิษฐ์
           4. ขั้นวางแผนทรัพยากรองค์กรที่เป็นการรวบรวมข้อมูลจาก Shopfloor (ฝ่ายผลิต) ไปยังส่วนอื่นๆเช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคงคลัง ฝ่ายการตลาด รวมไปถึงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือ e-Commerce ผ่านระบบ ERP(Odoo)
           5. ขั้นอินเตอร์เนทสำหรับทุกสรรพสิ่ง (IoTs) ในขั้นนี้เป็นการสนับสนุนการเชื่อต่อข้อมูลผ่านระบบคลาวน์ (Cloud Storage)ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ผู้ติดตามระบบการผลิตสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมในโรงงานโดยไม่ต้องเข้ามาภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน